Thursday, December 25, 2014

ขั้นที่ 4 การประเมินหลักสูตร

บทที่  4
การประเมินหลักสูตร

                        ไทเลอร์ (Tyler, 1969:104 อ้างถึงใน สุเทพ อ่วมเจริญ 2557:152) ได้ตั้งคำถามพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร สรุปแนวคิดได้ว่า ในการประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ดังคำถามข้อที่ 4 ที่ว่า ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนรู้ทำอย่างไร

                        ผู้พัฒนาหลักสูตรได้นำการประเมินการเรียนรู้โดยใช้ The SOLO taxonomy

การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ : SOLO Taxonomy


SOLO Taxonomy หรือ The Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy คือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอนและการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น แต่SOLO Taxonomy เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนนั้นเกิดการเรียนรู้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ ครูจะมีวิธีสอนอย่างไรที่ให้ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดพัฒนาการมากขึ้น ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือ John B. Biggs และ Kelvin Collis (1982)
แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1. Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2. Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3. Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4. Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5. Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูงหรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น

การประเมินมีหลายวัตถุประสงค์ ซึ่งการประเมินผลการศึกษากับการประเมินหลักสูตรนั้นมีลักษณะที่คล้ายกัน แตกต่างเพียงวัตถุประสงค์ในการประเมินเท่านั้น ในบทนี้ผู้พัฒนาหลักสูตรได้ให้นำนิยามประเมินและระบุการวัดและประเมินผลในด้านต่างๆของ หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต

Evaluation
     คือการประเมินเพื่อตัดสินคุณภาพซึ่งได้มาจากการวัดโดยมีเกณฑ์ในการวัดและประเมินที่แน่นอน
Evaluation
Class attendance and participation                                                       5%
Activities                                                                                              5%
Assignments                                                                                         10%
Midterm Practice                                                                                 20%
Midterm Examination                                                                        20%
Final Practice                                                                                       20%
Assessment
     คือการประเมินหาจุดเด่นและจุดด้อยเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้
             ผู้พัฒนาได้จัดทำแบบประเมินผู้เรียนและนำไปใช้ในการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละขั้น

Formative     
คือการประเมินระหว่างเรียน หรือ การประเมินย่อย โดยการประเมินระหว่างเรียนสามารถทำได้ตลอดเวลา จุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุง หรือแก้ไขการเรียนการสอนระหว่างเรียนเพื่อให้นักเรียนบรรลุหน่วยการเรียนใด ๆ หรือจุดประสงค์ของเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้อาจจะทำโดยการสอนซ่อมเสริม
ผู้พัฒนาได้จัดการประเมินระหว่างเรียน ดังนี้
1. ดูพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละคนจากงานที่ได้รับและการพูดคุยเป็นภาษาอังกฤษ
2. ข้อสอบย่อยในบางหน่วยการเรียนรู้

Summative
     คือผลจากการประเมินประเภทนี้ใช้ในการตัดสินผลการจัดการเรียนการสอน หรือตัดสินใจว่าผู้เรียนคนใดควรจะได้รับระดับคะแนนใด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตัดสินผลการเรียน

ผู้พัฒนาได้จัดทำการทดสอบทั้ง 4 ทักษะภาษาอังกฤษ
1. การประเมินการฟัง (Listening test)
2. การประเมินการพูด (Speaking test)
3 การประเมินจากการทำข้อสอบ (Theory test)

ขั้นที่ 3 การจัดหลักสูตร

บทที่  3
การจัดหลักสูตร

การนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์  ได้ให้ความหมายว่า การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยกระบวนการที่สำคัญที่สุด คือ การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การขัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนาการเรียนการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้เห็นผลตามเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร ผู้บริหาร ครูใหญ่ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จ

กรอบแนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด ADDIE
เนื่องจากมีรูปแบบ (Model)   สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอน (Insturctional System Design) เป็นการประยุคแนวคิดเชิงระบบ (System Approach) มาใช้ รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็ยังยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม คือ ADDIE Model (รค.ดร.สุเทพ.2007รศ. ดร. ฉลอง  ทับศรี. 2010)

ADDIE Model
1.             การวิเคราะห์  (Analysis)
2.             การออกแบบ  (Design)
3.             การพัฒนา  (Development)
4.             การนำไปใช้  (Implementation)

5.             การประเมินผล  (Evaluation)

กลยุทธการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในสถานที่เสมือนจริง
                    โดร์แมน (Woodall, Dorman, 2005 อ้างถึงในสุเทพ อ่วมเจริญ, 2557) นำเสนอแนวคิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในสถานที่เหมือนจริงจะเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบและจัดลำดับของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในสถานที่เหมือนจริง มีลักษณะเป็นารจัดบรรยากาศที่สภาพแวดล้อมเหมือนจริงหรือใกล้เคียงกับความจริงร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ (blended learning) การเรียนรู้จากสถานที่เหมือนจริง 5 ขั้นแรก ที่เป็นการเรียนรู้เป็นทางการ (formal learning solutions) ส่วนอีก 3 ขั้นเป็นการเรียนรู้ไม่เป็นทางการ (informal modes of learning) อาทิ การสนับสนุน (support) การแนะ (coaching) การกำกับติดตาม (mentoring) และการร่วมมือกัน (collaboration) จัดเป็นขั้นตอนได้ 8 ขั้น ดังนี้
                    1. เตรียมฉัน (Prepare Me) เป็นการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผูเรียนมั่นใจว่ามีทักษะความรู้พื้นฐานและความเข้าใจตลอดที่ต้องการ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีการปรับปรุงทักษะการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือต่างๆ กลยุทธ์การเรียนรู้ที่นำมาใช้ในโปรแกรมการบูรณาการ ผู้เรียนจะได้รับทราบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมเพื่อความสำเร็จต่อไป
                    2. บอกฉัน (Tell me) เป็นการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอและอธิบายข้อเท็จจริง มโนทัศน์ วิธีดำเนินการ และหลักการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระหรือรายวิชา วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ อาจมีการปรับเปลี่ยน และการจัดลำดับของการนำเสนอในการเรียนรู้เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
                    3. แสดงต่อฉัน (Show me) เป็นการนำเสนอตัวอย่างของข้อเท็จจริง วิธีการดำเนินการ หลักการ มโนทัศน์และกระบวนการในการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีในการนำทักษะที่ฝึกไปใช้
                    4. ปล่อยฉัน (Let me) ผู้เรียนจะได้รับโอกาสในการเรียนรู้ทักษะหรือความรู้ใหม่ต่อจากแสดงต่อฉัน เป็นการสร้างการจดจำในระยะยาวและสนับสนุนการถ่ายโอนการเรียนรู้และการนำความรู้และทักษะไปใช้ในสถานที่ปฏิบัติงาน ข้อมูลย้อนกลับในการปฏิบัติงานมีความสำคัญอย่างยิ่งในขั้นตอนนี้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างถูกต้องต่อไป
                    5. ตรวจสอบฉัน (Check me) เป็นการประเมินหรือทดสอบคุณค่าความก้าวหน้าของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ การประเมินให้ข้อมูลย้อนกลับของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยปกติวัดเป็นคะแนนและเครื่องมือวัด วัดเพื่อการตัดสินใจว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพียงพอในระดับมีความรอบรู้ในทักษะและความรู้ที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าในสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ
                    6. สนับสนุนฉัน (Support me) ผู้เรียนเริ่มเข้าถึงการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์และสื่อการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ โดยให้ความสำคัญกับผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ
                    7. ให้การเอาใจใส่ดูแลฉัน (Coach me) ผู้เรียนจะเรียนรู้จากประสบการณ์    ร่วมกับผู้อื่น การสอนงานและการเรียนรู้งานจากผู้จัดการ เพื่อน ผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หลากหลายแง่มุม มีความแหลมคม และขยายทักษะที่เป็นความสามารถบรรลุความสำเร็จได้     จากการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ
                    8. ร่วมกันเป็นเครือข่ายของฉัน (Connect me) เป็นการร่วมมือกันช่วยให้ผู้เรียนปฏิบัติงานในกลุ่มเพื่อนและเพื่อนร่วมงานในการแก้ปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยให้โอกาส         ในการขยายความรู้และทักษะให้กับผู้เรียนทุกคนในทุกระดับ

หน่วยการเรียนรู้
1.               Greeting and introductions
2.                Jobs
3.                Food and drink
4.                Sports and exercise
5.                Daily activities
6.                Problems
7.               Talking about clothes
8.               Appearances and personality
9.               Local attraction
10.         Places in the neighborhood
11.         Things that happen in vacations
12.         Kinds of transportation

ขั้นที่ 2 การวางแผนหลักสูตร

บทที่ 2
การวางแผนหลักสูตร


พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง หลักสำคัญ 4 ประการของการศึกษาตลอดชีวิต ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning : The Treasure Within  ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. 1995  ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1.     การเรียนเพื่อรู้  (Learning to Know) การเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง และยังหมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
2.     การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง  (Learning to Do) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ
3.     การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน  (Learning to Live Together) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง
       ต่าง ๆ โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน
4.     การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21 (3R 7C)
3R
แนวคิดดั้งเดิม
แนวคิดใหม่
Reading (อ่านออก),
Relevancy (ความสัมพันธ์)
‘Riting (เขียนได้)
Relationship (สัมพันธภาพ)
‘Rithmetics (คิดเลขเป็น)
Rigor (ความเคร่งครัด ความถูกต้องแม่นยำ)

7C
1. Critical thinking & Problem solving
     (ทักษะด้าน การคิดอย่งมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา)
2. Creativity & Innovation
    (ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
3. Cross-cultural understanding
   (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม)
4. Collaboration, teamwork & leadership
    (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
5. Communication, information & media literacy
    (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)
6. Computing &ICT literacy
    ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร
7. Career & learning skills
   (ทักษะอาชีพ และ ทักษะการเรียนรู้)


การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็การศึกษาที่ต้องเตรียมให้คนออกไปเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ไม่ว่าจะเป็นสาขาอาชีพอะไร คนในอาชีพนั้นๆจะต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ได้ใน 3 ด้าน คือ บุคลิกลักษณะ (Character) ด้านทักษะ (Skills) ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะผู้เรียนจะเรียนรู้เพื่อการใช้ชีวิตและด้านอาชีพ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะด้านการสื่อสาร การทำงานเป็นทีมและด้านสร้างสรรค์ ทักษะด้านสาระสนเทศและสื่อ ด้านความรู้ ผู้เรียนจะต้องเรียนด้านภาษา มนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลนี คณิตศาสตร์และวิศวกรรม (Charles Fadel. 2012, and Partnership for 21st Century Skills.)

การสื่อสารมีบทบาทสำคัญสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 การสื่อสารเป็นการสื่อความคิดและไอเดียออกมาทางวาจา รวมถึงการฟังอย่างเข้าใจและสามารถตีความหมายได้ สามารถบอกถึงจุดประสงค์ต่างๆได้ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะต้องสื่อสารได้แม้ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างออกไป หรือในที่ที่ใช้ภาษาแตกต่างกัน และสามารถอยู่ในสังคมโลกได้ ใช้สิทธ์และ ใช้เสียงเพื่อส่วนรวมได้ คนรุ่นใหม่จำเป็นต้องมีความสามารถในการสื่อสาร  และสามารถแสดงออกถึงความคิด และข้อมูลต่างๆได้ ในประเทศไทย คนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ว่าการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญในด้านการสื่อสาร และเป็นประโยชน์และเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทมากในโลกธุรกิจ ด้านวิชาการ ด้านการท่องเที่ยว และประชาชนโลกที่ต้องสื่อสารในชาติที่แตกต่างกัน (Partnership for 21st Century Skills, Dr. Kenneth Dobson. 2006, Ananiadou, K. & M. Claro. 2009 and Jeremy Harmer. 2001)

ภาษาเป็นกระบวนการแสดงออกมาเป็นคำพูดเพื่อสื่อความหมาย  และเป็นหน้าที่หลักในการสื่อสารระหว่างกัน ในการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพจะมุ่งเน้นที่กิจกรรม แนวคิดด้านการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching) จุดมุ่งหมายของวิธีสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่ เรียนในการสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกัน ดังนั้นการสอนจะมุ่งเน้นไปทางการทำกิจกรรม วิธีสอนแบบ B-SLIM โดย Olenka Bilash เป็นผู้ออกแบบวิธีการสอน อาศัยหลักการและแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของพีอาเจต์ (Piaget) และวิก็อทสกี้ (Vygotsky) และทฤษฎี การเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูนเนอร์ (Bruner) (David R. Hall &  Ann Hewings. 2001, Olenka Bilash. 2011, and Marianne Celce-Murcia  2001)

ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ครูเรียนเสมือนเป็นคุณอำนวย (facilitator) เป็นผู้วิเคราะห์ความต้องการ เป็นผู้เจรจาต่อรองและเป็นผู้จัดการในเวลาเดียวกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด ครูจะต้องพัฒนาความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง ในทางวิชาชีพควรมีประสบการ์ในด้านต่างๆ เช่น ทางเสรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนผู้เรียนเปรียนเสมือนผู้แลกเปลี่ยนหรือผู้เจรจาต่อรอง เป็นผู้ปฏิสัมพันธ์ และเป็นทั้งผู้รุกและผู้รับ (David R. Hall & Ann Hewings. 2001, UNESCO: of the International Commission of Education for the 21st Century. 1996)

จากบทที่ 1 ได้กล่าวไว้ว่าผู้พัฒนาหลักสูตรได้นำ SU Model มาใช้ในการหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model: หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เขียนความสัมพันธ์ของเป้าหมายการพัฒนาหลักสูตรกับความรู้ (Knowledge) ผู้เรียน (Learner) และสังคม (Society) 

เป้าหมาย
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับพื้นฐานเป็นอย่างดี สามารถสื่อสารกับผู้อื่น สังคมอื่น ประเทศอื่นได้ อีกทั้งผู้เรียนต้องเข้าใจถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกับอย่างมีความสุขในสังคมที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

จุดประสงค์

                    ผู้เรียนสามารถฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานได้ดี เข้าใจรูปแบบโครงสร้างไวยกรณ์การสื่อสาร คำศัพท์ วลีและประโยคภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และมีพัฒนาการการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ หัวเรื่องและบริบท การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน การแนะนำตนเองและผู้อื่น การให้ข้อมูล และการแสดงความคิดเห็น กลยุทธ์และทักษะในการอ่านเร็ว อ่านบทความ ประกาศ โฆษณา อีกทั้งผู้เรียนต้องเป็นคนดี มึคถณธรรม จริยธรรม นำความรู้ความสามารถไปประจุกต์ใช้ในสังคมโลกได้ เป็นอย่างดี
               
ระยะเวลาในการอบรม     16    สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง
                               
ผู้เข้ารับการอบรม
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

สื่อการเรียนการสอน
1.             หนังสือ
2.             เครื่องฉายภาพทึบแสง  โปรเจกเตอร์ 
3.             เครื่องเสียง
4.             คอมพิวเตอร์
5.             เครื่องอัดวิดีโอ
6.             อินเทอร์เน็ต


การประเมินการฝึกอบรม และเครื่องมือที่ใช้ประเมิน
1.              สังเกตจากการอภิปราย  การมีส่วนร่วมในกิจกรรม  การตั้งใจรับฟังและเสนอความคิดเห็น
2.              แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
3.              แบบสอบถามความคิดเห็นด้านเจตคติและทักษะก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังการเรียน
4.              แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการฝึกอบรม
5.              แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้



ขั้นที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต

บทที่  1
การพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต

ไทเลอร์ (Tyler. 1949) ได้ให้แนวคิดในการวางโครงร่างหลักสูตร โดยใช้วิธี Means-Ends Approach เป็นหลักการและเหตุผลในการสร้างหลักสูตรที่เรียนว่า หลักการของไทเลอร์” (Tyler’s rationale) ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการจัดหลักสูตรและการสอนที่เน้นการตอบคำถามที่เป็นพื้นฐาน 4 ประการ
1)    What is the purpose of the education? (มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะแสวงหา)
2)    What educational experiences will attain the purposes? (มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)

3)    How can these experiences be effectively organized? (จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ)
4)    How can we determine when the purposes are met? (จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร  จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
                นอกจากคำถามดังกล่าวแล้ว Tyler ยังได้เสนอหลักการในการพัฒนาหลักสูตรว่าประกอบด้วย 4 หลักการ คือ
1)    Planning (การวางแผนของหลักสูตร)
2)    Design (การออกแบบหลักสูตร)
3)    Organize (การจักการหลักสูตร)

4)    Evaluation (การประเมินหลักสูตร)
นอกจากนั้นได้นำแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรด้วยเช่นกัน
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
                รูปวงกลม มีความหมายดั่ง จักรวาลแห่งการเรียนรู้หรือโลกแห่งการศึกษา และเขียนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ลงบนเส้นรอบวงของวงกลม มีความหมายแทนกระบวนการพัฒนาหลักสูตร โดยให้มุมบนสุดของสามเหลี่ยมแสดงเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ (Knowledge)  มุมล่างด้านซ้ายมือ แสดงเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียน (Learner) เน้นคนดี และมุมล่างด้านขวามือ แสดงเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม (Society)
                กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร (สามเหลี่ยมเล็กๆ 4 ภาพ) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
                สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่ง คือ มีจุดมุ่งหมายอาะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร มีการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
                สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบการปฏิบัติ หลักสูตรที่จัดทำขึ้นจะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร และหรือมีผลสัมฤทธิ์ตามเจนารมณ์ของหลักสูตรสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการและด้านการพัฒนาผู้เรียน หรือการออกแบบหลักสูตรมุ่งเน้นความรู้ตามหลักสูตรหรือเนื้อหาสาระและผลผลิตของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมาย (aim) และจุดมุ่งหมาย(goal) ของหลักสูตร
                สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) ซึ่จะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก ในทางปฏิบัติการจัดระบบหลักสูตรเพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ การบวรการบริหารที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอนจะมีบทบางสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
                สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดได้มีการพัฒนาเป็นรายละเอียดดังนี้
1.             ข้อมูลผู้เรียน
2.             ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
3.             ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
4.             วัตถุประสงค์ (ฉบับร่าง)
5.             ปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษา
6.             จิตวิทยาการเรียนรู้ 
7.             จุดประสงค์ของหลักสูตร

1.  ข้อมูลผู้เรียน 
                        ผู้เรียนคือ นักศึกษาชั้นปี  1 มีอายุ  ประมาณ  18 – 20  ปี  มีส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัด

ปัจจัยบริบททางด้านกลุ่มเป้าหมาย (ผู้เรียน)
                                1. เบบี้บูม (Baby Boom)
                                เกิด พ.ศ. 2489-2507 ไม่เปลี่ยนงานบ่อย มีความจงรักภัคดีต่อองค์กรสูง เคารพกฎเกณฑ์ ทุ่งเทให้ความสำคัญกับครอบครัว

                                2. เจนเอกซ์ (Generation X)
                                เกิด พ.ศ. 2508-2522  ทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างได้เพียงลำพัง มีความคิด เปิดกว้าง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
                                3. เจนวาย (Generation Y)
                                เกิด พ.ศ. 2523-2543 เกิดมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และไอที เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ชอบงานแสดงออกมีความเป็นตัวของตัวเอง
                                4. เจนซี (Generation Z)
                                เกิด พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน เป็นคนยุคแรกของศตวรรษที่ 21 มีชื่อเรียกต่างๆ กันเช่น
-                   New Silence Generation          – Vista Generation
-                   Internet Generation                  –  Google Generation
-                   Digital Natives                        –  Net Natives
ลักษณะนิสัยของคน Generation Y และ Generation Z
                คนยุค Generation Y และ Generation Z มีลักษณะนิสัยเฉพาะตัวซึ่งจะต้องวิเคราะห์เชื่อมโยงไปสู่การออกแบบหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ในสถานศึกษา ดังนี้
1)            มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน (here and now)
2)            กล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ (accountability)
3)            ชอบตั้งคำถาม มีสไตล์ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว
4)    มีความมุ่งมั่นที่จะเห็นความสำเร็จของตนเองและคาดหวังให้คนอื่นเห็นความสำคัญของตนมีความคาดหวังในการทำงานสูง
5)            มีความรับผิดชอบในภารกิจของตนเองอย่างชัดเจน
6)            คิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในทีม
7)    มีการวัดผลงานอย่างเป็นระบบ มีเกณฑ์การวัดที่ชัดเจนและมีผลการประเมินเป็นรูปธรรม
8)            ชอบความหลากหลายและสิ่งที่ท้าทาย ชอบทำงานกับคนที่มีความแตกต่าง เช่น การทำงานกับชาวต่างชาติ
9)            มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบเรียนรู้โดยการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี
10)     เป็นคนคิดนอกกรอบไม่ชอบทำอะไรเป็นลำดับขั้นตอนแต่เน้นผลสำเร็จของงาน
11)     มีลักษณะอ่อนไหวง่าย มีความคาดหวังสูงอยู่ร่วมกับบุคคลที่มีความเข้าใจและรับ
ความรู้สึกของตน เช่น การชมเชย การเสริมแรง
12)     มีอัตราการออกจากงานสูงเนื่องจากต้องการใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ให้กับองค์กรหรือหน่วยงาน

ลักษณะเด่นของ Generation Y และ Generation Z
คน Generation Y เป็นคนที่พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงเชื่อว่าทุกอย่างย่อมมีวิวัฒนาการทุกอย่างจะต้องปรับตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่ติดกรอบ เชื่อในพลังความคิดเชิงบวกและชอบทำงานเป็นทีม

Generation Y และ Generation Z กับกระบวนการเรียนรู้
1)                        เกิดมาในสภาพแวดล้อมของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2)                        กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม คือ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
3)                        ชอบเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม

การทำงานกับคน 4 รุ่นที่สมดุล
คนยุค BaBy boom และ Generation X สองรุ่นนี้มีลักษณะการทำงานด้วยความหวังเพื่อสุขสบายในอนาคต          คนยุค Generation Y และ Generation Z ให้ความสำคัญกับความสมดุล ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวเป็นอันดับหนึ่ง (Work-Life balance) เพื่อให้คนทั้ง 4 รุ่น อยู่ร่วมกับเด็กยุค Generation Y ได้อย่างดีนั้น จะต้องปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานแบบอาสา (ASSA) ให้มากขึ้น ได้แก่
                                A            :Advise ให้คำแนะนำ
                                S             :Service ให้การบริการ
                                S             :Support ให้การสนับสนุน
                                A             :Assist ให้การช่วยเหลือ
                               
                    หลังจากนั้นได้ศึกษาข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้เรียน ของนักศึกษาปีที่ 1  มหาวิทยาลักราชภัฏนครปฐม โดยสร้างแบบสอบถามเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนจำนวน 128 คน นำผลมาศึกษาข้อมูลผู้เรียนเพื่อช่วยในการเขียนวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและสนองตอบความต้องการจำเป็นของผู้เรียนโดยได้นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ของ โดนัล คลาก (Donal Clark. 2004) และคอดซิม (CogSim. 2004) มาทำขึ้นเป็นแบบสอบถาม ข้อมูลในแบบสอบถามแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้

2. ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
                   ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับท่ 11 (พ.ศ.2555-2559) มีการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยง และเสริมรากฐานของประเทศด้านต่างๆ ให้เข้มแข็ง ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจจากการพัฒนาอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้านฐานความรู้และความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ประเทศสามารถเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญจากจำนวน 6 ยุทธศาสตร์ คือการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยสร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้คนทุกกลุ่มทุกวัย สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทั่งที่เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ใหม่และบูรณาการการเรียนรู้ให้หลากหลายวิชาทั้งด้านวิชาการ ทักษะชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อเหมาะสมถูกต้องและสันทนาการที่ครอบคลุมทั้งศิลปะ ดนตรี กีฬา วัฒนธรรม ศาสนา ความเป็นไทย และเรื่องอาเซี่ยนศึกษาส่งเสริมการใช้และการอนุรักษ์ภาษาไทย รวมทั้งการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง รวมถึงภาษาเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน

สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
                   ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ส่งเสริมให้มีการเสริมสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย มาขับเคลื่อนกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้นการผลิตบัณฑิตออกเข้าตลาดแรงงาน นอกจากมีความรู้ความสามารถทางวิชาการแล้ว ควรจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมและสามารถช่วยช้ำสังคมให้จรรโลงรักษาค่านิยมวัฒนธณรมที่ดีงามของสังคมไทย

                   ผลกระทบจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน และการพัฒนาหลักสูตรจึงให้ความสำคัญกับการผลิตบุคลากรที่มีความรู้คู่คุณธรรม

3. ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
3.1      Greeting and introductions
3.2       Jobs
3.3       Food and drink
3.4       Sports and exercise
3.5       Daily activities
3.6       Problems
3.7      Talking about clothes
3.8      Appearances and personality
3.9      Local attraction
3.10                       Places in the neighborhood
3.11                       Things that happen in vacations
3.12                       Kinds of transportation

4. วัตถุประสงค์ (ฉบับร่าง)

เพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1.             ใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
2.             มีทักษะการคิดแบบองค์รวม
3.             ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน
4.             มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
5.             มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์กว้างไกล เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม   
   ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ
6.             มีทักษะการคิดแบบองค์รวม
7.             มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก

วัน – เวลาในการจัดการเรียนการสอน
                    ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – เดือนพฤศจิกายน
                    ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – เดือนเมษายนปีถัดไป
                    ภาคฤดูร้อน   เดือนพฤษภาคม – เดอืนกรกฎาคม

รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบ
    วิชาส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของวิชาศึกษาทั่วไประดับปริญญาตรีทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
ภาษาที่ใช้
    ภาษาอังกฤษ
ผู้เข้ารับการศึกษา
นักศึกษาปี 1 ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม



5. ปรัชญาการศึกษา

                ปรัชญามุ่งศึกษาเรื่องของชีวิตและจักวาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เพื่อจะหาความจริงอันเป็นที่สุด การศึษามุ่งศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์และวิธีการที่จะพัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงามเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างดีมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน ทั้งปรัชญาและการศึกษา มีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งก็คือการกำหนดคุณค่าและความหมายของชีวิตมนุษย์ ปรัชญาในแง่นี้จึงมีลักษณะเป็นทฤษฎีทางการศึกษาและการศึกษาเป็นการนำเอาปรัชญาไปปฏิบัติให้บังเกิดผล เมื่อเป็นเช่นนี้ปรัชญาจึงมีความสัมพันธ์กับการศึกษา (วิจิตร ศรีสอ้าน. 2545)
ผู้พัฒนาได้นำปรัชญาการศึกษาในด้านพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) มาใช้ในการทำจัดทำหลักสูตร รายละเอียดของปรัชญาด้านพิพัฒนาการนิยมมีดังนี้
ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)

พิพัฒนาการ หรือ Progressive หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง การจัดการศึกษาต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง จึงได้เชื่อว่า แนวทางแห่งความมีอิสระเสรีที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง วัฒนธรรมและสังคม

ความเป็นมา
พิพัฒนาการนิยมเกิดขึ้นเพื่อต่อต้านแนวคิดและวิธีการศึกษาแบบเดิมที่เน้นแต่เนื้อหา สอนแต่ท่องจำ ไม่คำนึงถึงความสนใจของเด็ก และพัฒนาเด็กแต่เพียงสติปัญญาเท่านั้น ทำให้ผู้เรียนขาดความ ริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มีความมั่นใจในตนเอง อีกอย่างหนึ่งเพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ความนิยมในประชาธิปไตยและพัฒนาการใหม่ ๆ ทางจิตวิทยาการเรียนรู้
จัง จ๊าค รุสโซ, จอห์น เฮนรี่, เปสตาลอสซี่, เฟรด เดอริค ฟรอเบล เป็นผู้มีแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมเป็นพวกแรก ของยุโรป ค.ศ. 1870 ฟรานซีส ดับเบิลยู ปาร์คเกอร์ ได้เสนอให้มีการปฏิรูประบบโรงเรียนขึ้นใหม่ แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมา จอห์น ดุย ทำการทดลองเพิ่มเติมจนทั่วโลกได้รู้จักปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมของเขา มีนักการศึกษาร่วมอยู่ด้วย วิลเลียม เอช คิลแพททริค, จอห์น ไซล์ค และเฮนรี่ บาร์นาร์ด สหรัฐอเมริกาจัดตั้งสมาคมการศึกษาพิพัฒนาการขึ้นในปี ค.ศ.1919 ได้จัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อชีวิต (The Life-Centered Curriculum) ขึ้นใช้ในโรงเรียนอย่างกว้างขวาง

จอห์น ดุยอี้ ได้ยกย่องปาร์คเกอร์ ว่าเป็นบิดาของปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ก่อตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง(ราว ค.ศ.1920) และ นำมาใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในยุคปัจจุบัน สำหรับวงการศึกษาไทยได้ต้อนรับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(แบบก้าวหน้า)อย่างกระตือรือร้น โดยรู้จักกันในนามว่า การศึกษาแผนใหม่

แนวคิดพื้นฐาน
พิพัฒนาการนิยม มีแนวคิดเช่นเดียวกับปรัชญาปฏิบัตินิยม เชื่อว่าชีวิตเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอตามกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบที่มีอิทธิพลสูงสุดในการกำหนดรูปแบบของวัฒนธรรมและสังคม คือ การค้นคว้า ทดลอง และประสบการณ์ของมนุษย์ที่ได้เห็นประจักษ์ เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้กำหนดอนาคตโชคชะตาของตนเอง มนุษย์ควรจะนั้นความสำคัญและคุณค่าของแต่ละบุคคลให้มาก ดังนั้น การศึกษาในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมจะต้องเปลี่ยนแปรสภาพไปด้วยเมื่อถึงความจำเป็นการศึกษาไม่ใช่สอนให้คนยึดมั่นในความจริง หรือถูกกำหนดไว้ตายตัว หากจะต้องหาทางปรับปรุงการศึกษาเพื่อจะเป็นแนวทางนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
ความหมายของการศึกษา 
พิพัฒนาการนิยมเชื่อว่าการศึกษาคือชีวิตไม่ใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ก็โดยการลงมือกระทำ จริง ๆ ที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์กับผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนจึงมุ่งการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

ความมุ่งหมายของการศึกษา
  • มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน
  • มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวเองเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข
  • มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด ความสนใจ และตามความสามารถของผู้เรียน
  • ส่งเสริมประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้องเรียน
  • มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
  • มุ่งให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการดำรงชีวิตเป็นหมู่คณะ และรู้จักปกครองตนเอง
ธรรมชาติของมนุษย์ 
เชื่อว่ามนุษย์เป็นคนดีมาแต่กำเนิด มนุษย์ไม่ได้โง่หรือฉลาดมาแต่กำเนิด มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความว่างเปล่า ความฉลาดหรืออุปนิสัยอื่น ๆ มนุษย์มาได้รับภายหลังและจากประสบการณ์ทั้งสิ้น มนุษย์มีอิสระเสรี มิได้อยู่ใต้การลิขิตของผู้ใด มีศักยภาพ ที่จะพัฒนาตัวเองให้ดี

ญาณวิทยา 
เชื่อว่าความรู้ที่ตายตัวแน่นอนอันเป็นความจริงสูงสุดนั้นไม่มี ความรู้มีวิวัฒนาการอยู่เสมอ ความรู้มีหน้าที่ช่วยมนุษย์แก้ปัญหา และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด ความรู้ต้องนำไปใช้ได้ผลจริง ๆ

กระบวนการของการศึกษา ถือว่าประสบการณ์และการทดลองมีความสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ และการเรียนรู้เป็นเรื่องของการกระทำ (Doing) มากกว่ารู้ (Knowing) และจะต้องให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและสังคมได้ และจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคลด้วย

สถาบันการศึกษา
เชื่อว่าสถาบันการศึกษา คือ แบบจำลองที่ดีงามของชีวิตและสังคม โดยจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และการดำเนินชีวิตจริง แต่ต้องเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน เพื่อผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาชีวิตและสังคมได้ดีขึ้น สถาบันการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความร่วมมือกันสร้างบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสันติสุข

ผู้บริหาร
  • ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงหรือมติของคณะกรรมการของสถาบันการศึกษา
  • ผู้บริหารจะต้องเป็นนักประชาธิปไตยให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมในการบริหารงาน
บทบาทหน้าที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน 
เชื่อว่าผู้สอนและผู้เรียนร่วมมือกันในการเรียนรู้ และเน้นการทำงานในรูปของประชาธิปไตย ความเสมอภาค และผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมที่สนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน พร้อมทั้งยังคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ


ผู้สอน
  • จะต้องมีบุคลิกที่ดี เห็นอกเห็นใจและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กได้ดี
  • บทบาทที่สำคัญของผู้สอน คือ จะต้องเป็นผู้กระตุ้น ให้ผู้เรียนได้สนใจด้วยตนเอง ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยตนเอง
  • บทบาทของผู้สอนไม่ใช่เป็นผู้ใช้อำนาจหรือออกคำสั่ง แต่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะแนวทางให้กับผู้เรียน
ผู้เรียน 
ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนมาก ถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง หรือลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by Doing) ผู้เรียนมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง

วิธีสอน 
มุ่งให้ผู้เรียนรวมกลุ่มทำกิจกรรม ใช้วิธีการสอนแบบ แก้ปัญหานำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง เห็นความสำคัญของงานที่มีต่อตนเอง ต่อสังคม การสอนจึงเน้นในเรื่องการสาธิต การอภิปราย การค้นคว้า การรายงาน การประชุม การวางแผน ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความสามารถอย่างแท้จริง และได้รับประสบการณ์จริงด้วยตนเอง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ศักยภาพของผู้เรียน ระวังไม่ให้เด็กเรียนอ่อนเกิดปมด้อย

หลักสูตร
หลักสูตรแบบประสบการณ์หรือหลักสูตรแบบกิจกรรม เน้นการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หลักสูตรเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม เนื้อหาของหลักสูตรจะต้องไม่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า หลักสูตรที่ดีต้องมุ่งไปที่การเรียนรู้ทุกชนิดที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาในทุกด้าน

การวัดและการประเมินผล
                        ความรู้เป็นเพียงเครื่องมือที่จะช่วยมนุษย์แก้ปัญหาเท่านั้น (กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 1. ระบุปัญหา 2. กำหนดสมมุติฐาน 3. รวบรวมข้อมูล 4. วิเคราะห์ข้อมูล 5. สรุปผล และยังเชื่อว่าการวัดผลที่เนื้อหาวิชาจะสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด


ปรัชญาของสถาบัน
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ พัฒนาคนให้สมบูรณ์
ความสำคัญ
การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตเป็นวิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างก้าวขวาง  มีโลกทัศน์ที่กล้างไกล มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง คิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรมตระนักในคุณค่าของวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี

6จิตวิทยาการเรียนรู้
ความรู้ทางด้านจิตวิทยามีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรมาก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป  การจัดการศึกษาควรจะมุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาของผู้เรียนทั้งในด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองดีมีคุณภาพ  ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจะต้องอาศัยความรู้ในด้านจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการเรียนรู้ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดเนื้อหาสาระประสบการณ์ที่จะให้กับผู้เรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวัย  ตลอดจนการจัดลำดับบทเรียนให้สอดคล้องกับการพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้เรียน จึงจะทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ และบรรลุจุดประสงค์ตามความต้องการ นอกจากนี้จะต้องศึกษาผลงานวิจัยทางด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการของผู้เรียนด้านต่าง ๆ และวัยต่าง ๆ ทั้งในด้านการเจริญเติบโต  ความต้องการ  ความประพฤติ ลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละวัย  ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อม และความสามารถพิเศษเฉพาะด้านของผู้เรียน สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่สำคัญที่จะนำมาประกอบในการจัดทำหลักสูตร  กำหนดจุดมุ่งหมาย  การเลือกเนื้อหา และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน นักจิตวิทยาและนักการศึกษาหลายท่านได้ศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการจัดการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
6.1  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  มีสาระสำคัญ คือ  เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม  การเรียนรู้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล  โดยตัวนักเรียนเองเท่านั้นที่ทราบว่าตัวเองกำลังเรียนรู้  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ แบ่งออกเป็น  ขั้น  ตามลำดับช่วงอายุ  คือ
      ขั้นที่  1  ระยะการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ  (Sensorimotor  Stage) ตั้งแต่แรกเกิดถึง ปี  เด็กจะรู้เฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรม  มีความเจริญอย่างรวดเร็วในด้านความคิดความ   เข้าใจ  การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อและสายตา  และการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ  ต่อสภาพจริงรอบตัว  เด็กในวัยนี้ชอบทำอะไรบ่อย ๆ  ซ้ำ ๆ  เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก  ความสามารถในการคิดวางแผนของเด็กอยู่ในขีดจำกัด
       ขั้นที่  2  ขั้นเตรียมสำหรับความคิดที่มีเหตุผล ( Preparational  Stage)  อยู่ในช่วงอายุ  2-7  ปี  เพียเจย์ ได้แบ่งขั้นนี้ออกเป็นขั้นย่อยๆ  ขั้น  คือ
                                2.2.1  Preconceptual  Though  เด็กวัยนี้อยู่ในช่วง  2  -  4  ปี  เด็กวัยนี้มีความคิดรวบยอดในเรื่องต่างๆแล้วเพียงแต่ยังไม่สมบูรณ์  และยังไม่มีเหตุผลเด็กสามารถใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์  แต่การใช้ภาษานั้นยังเกี่ยวข้องกับตนเองเป็นส่วนใหญ่  ความคิดของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  เด็กยังไม่สามารถใช้เหตุผลอย่างสมเหตุสมผล  เด็กยังไม่เข้าใจเรื่องความคงที่ของปริมาณ
                             2.2.2  Intuitive  Though  อยู่ในช่วงอายุระหว่าง  4  -  7  ปี  ความคิดของเด็กวัยนี้แม้ว่าจะเริ่มมีเหตุผลมากขึ้น  แต่การคิดและการตัดสินใจยังขึ้นอยู่กับการรับรู้มากกว่าความเข้าใจเด็กเริ่มมีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  มีความสนใจอยากรู้อยากเห็นและมีการซักถามมากขึ้น  มีการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่อยู่รอบข้าง  ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิด  อย่างไรก็ตามความเข้าใจของเด็กวัยนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่รับรู้จากภายนอกนั่นเอง
      ขั้นที่  3  ขั้นการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม  (Concrete  Operational  Stage)  อยู่ในช่วงอายุระหว่าง  7  -  11  ปี  เด็กวัยนี้  สามารถใช้สมองในการคิดอย่างมีเหตุผล  แต่กระบวนการคิดและการใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหายังต้องอาศัยสิ่งที่เป็นรูปธรรม  จุดเด่นของเด็กวัยนี้  คือเริ่มมีเหตุผล  สามารถคิดกลับไปกลับมาได้  เด็กเริ่มมองเห็นเหตุการณ์และสิ่งต่าง ๆ  ได้หลายแง่หลายมุมมากขึ้น  สามารถตั้งกฎเกณฑ์นำมาใช้ในการแบ่งแยกสิ่งต่าง ๆ  เป็นหมวดหมู่ได้
               ขั้นที่  4  ขั้นการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงนามธรรม    (Formal  Operational  Stage)  อยู่ในช่วงอายุ 
11  -  15  ปี  ในขั้นนี้โครงสร้างทางความคิดของเด็กได้พัฒนามาถึงขั้นสูงสุด  เด็กจะเริ่มเข้าใจกฎเกณฑ์ทางสังคมได้ดีขึ้น สามารถเรียนรู้โดยใช้เหตุผลมาอธิบายและแก้ปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นได้     เด็กรู้จักคิดตัดสินปัญหา    มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ  ได้มากขึ้น  สนใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม  และสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น
6.2  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์    แบ่งออกเป็น  ขั้นตอน  คือ
       2.2.1.  Enactive  Stage  เป็นระยะการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ  ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง  ปี  ซึ่งตรงกับขั้น  Sensorimotor  Stage  ของเพียเจท์  เป็นขั้นที่เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำหรือประสบการณ์มากที่สุด
      2.2. 2.  Iconic  Stage  เป็นขั้นที่เด็กมีระยะการแก้ปัญหาด้วยการรับรู้แต่ยังไม่รู้จักใช้เหตุผล  ซึ่งตรงกับ  Concrete  Operational  Stage ของเพียเจท์  เด็กวัยนี้เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงมากขึ้น  จะเกิดความคิดจากการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  และภาพแทนในใจ  อาจจะมีจินตนาการบ้างแต่ไม่ลึกซึ้ง
    2.2.3.  Symbolic Stage  เป็นขั้นพัฒนาการสูงสุดทางด้านความรู้และความเข้าใจ เปรียบได้กับขั้นระยะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลกับสิ่งที่เป็นนามธรรม (Formal Operational Stage) เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์โดยการใช้สัญลักษณ์หรือภาพ สามารถคิดหาเหตุผลและเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม  ตลอดจนสามารถคิดแก้ไขปัญหาได้
                6.3  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการสรรค์สร้างความรู้  ของ Vygotsky   การพัฒนาและทัศนคติของนักเรียนจะเกิดขึ้นเมื่อมีปฏิสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกับผู้อื่น  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นในสภาวะที่เด็กเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยลำพัง  เมื่อได้รับการช่วยเหลือเพื่อการทำงานร่วมกับเพื่อนที่มีประสบการณ์มากกว่า  นักเรียนจะสามารถแก้ปัญหาและเกิดการเรียนรู้

การนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการศึกษา
จิตวิทยา เป็นวิชาที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการศึกษาอยู่ค่อนข้างมากกว่าศาสตร์สาขาอื่น ๆ  ทั้งนี้เพราะว่าผลงานของนักจิตวิทยาได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในวงการศึกษาเป็นเวลาช้านานแล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่าวิชาจิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานทางการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและการศึกษานอกระบบโรงเรียน อันจะเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษาในการสอนผู้ใหญ่
                คุณค่าและประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่ออาชีพนักการศึกษาผู้ใหญ่ พัฒนาการ หรือวิทยากร ในการที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนที่จัดให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใหญ่  ดังต่อไปนี้
1.    ช่วยให้ผู้สอนหรือวิทยากรมีความรู้ความเข้าใจว่า การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
2.   ช่วยให้ผู้สอนหรือวิทยากร เข้าใจหลักปฏิบัติ หรือการปฏิบัติตัวในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นตามความเชื่อถือหรือทฤษฎีการเรียนรู้ที่ตนเองเข้าใจและนิยมที่จะปฏิบัติ
3.   ช่วยให้ผู้สอนหรือวิทยากรสามารถตัดสินใจเลือกกิจกรรมและวิธีการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญก็คือ ทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้สอนสามารถคาดการณ์ได้ว่า ควรจะปฏิบัติการณ์อย่างไรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

สำหรับการนำความรู้ทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการสอนผู้ใหญ่นั้น สามารถนำมาเชื่อมโยงกับกระบวนการจัดระบบการเรียนการสอนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของงานการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษานอกระบบโรงเรียน นั้น มัลคัม โนลส์ นักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงได้เสนอแนะให้ใช้กระบวนการ ประกอบด้วยงานตามลำดับขั้นดังต่อไปนี้ คือ

1.    การสร้างบรรยากาศเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่ ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ เพื่อชักจูงใจให้ผู้สนใจมาร่วมกิจกรรมในโครงการ โดยอาจแจ้งข่าวสารทางจดหมาย การออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ การจัดประชุมสัมมนาและการฝึกอบรมเพื่อแนะแนวการศึกษา
สำหรับการจัดสถานที่เรียนหรือศูนย์การเรียน ก็ควรจะให้เป็นที่ดึงดูดความสนใจ จัดอำนวยความสะดวกสบายเรื่อโต๊ะและที่นั่ง จัดวัสดุอุปกรณ์การศึกษา การจัดห้องเรียนให้อากาศ

ถ่ายเทได้ มีแสงสว่างให้พอเพียง  เมื่อเริ่มรับนักศึกษาผู้ใหญ่เข้ามาสู่สถานศึกษาก็ควรมีการปฐมนิเทศ ให้การต้อนรับและแนะนำสมาชิก เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้มีความเป็นกันเอง

2.    การจัดโครงสร้างองค์การเพื่อวางแผนการเรียนร่วมกัน
ควรจัดให้มีการประชุมหรือปรึกษาหารือกันภายในกลุ่มเล็ก เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมคิด ร่วมวางแผนการเรียนตั้งแต่จุดเริ่มต้น ผู้สอนจะต้องรู้จักการดำเนินงานกลุ่ม ใช้เทคนิคการอภิปรายกลุ่ม การรักษาความสัมพันธ์ภายในกลุ่มให้มีระดับของการร่วมแสดงความคิดเห็น การก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันในลักษณะที่เปิดเผยและไว้วางใจกัน มีอิสระเสรีภาพ ซึ่งสามารถที่จะนำทฤษฎีและทักษะเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มในจิตวิทยาสังคมมาใช้ได้

3.    การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน
ในขั้นนี้ เริ่มต้นโดยการสร้างเกณฑ์สมรรถภาพที่พึงประสงค์ ซึ่งอาจจะได้มาจากผลการวิจัยหรือแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญ จากการวิเคราะห์งาน วิเคราะห์อาชีพ หรือวิเคราะห์รายละเอียดของหลักสูตร ต่อจากนั้นจึงประเมินสภาพปัจจุบันของผู้เรียนว่า เขายังขาดสมรรถภาพอะไรอยู่อีกบ้าง ในด้านใด สำหรับสมรรถภาพที่ผู้เรียนยังขาดและต้องการนั้น ควรจะสนองตอบโดยวิธีการใดจึงจะทำให้ผู้เรียนยอมรับและตระหนักถึงความต้องการนั้นได้ ความรู้จากจิตวิทยาการทดสอบและการประเมินผล รวมทั้งทฤษฎีการแนะแนวจะช่วยให้ผู้สอนร่วมปรึกษาหารือกับผู้เรียน และดำเนินการไปได้ด้วยดี



4.    การกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอน
ในการสอนผู้ใหญ่ที่จะเน้นที่ความต้องการของผู้เรียนโดยให้เขาเป็นผู้กำหนด และตัดสินทิศทางการเรียนของตนเอง ผู้สอนจะเป็นเพียงที่ปรึกษาให้ข้อเสนอแนะและร่วมวางแผน ดังนั้นกระบวนการพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ จึงเป็นวิธีการทางจิตวิทยาที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น ทฤษฎีการให้คำปรึกษาของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม สำหรับโนลส์ได้เสนอแนะว่าในการกำหนดวัตถุประสงค์ต้องระบุประเภทของพฤติกรรม รวมทั้งเนื้อหาและขอบข่ายของพฤติกรรมประเภทนั้นๆ ด้วย เช่น จะให้มีความรู้ในเรื่องอะไร จะให้มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับอะไร ทั้งนี้ต้องระบุทั้งสองประเภท

5.    การจัดแผนการเรียนการสอน
มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความรู้ทางจิตวิทยาการเรียนรู้ เช่นหลักการเรียนของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตอลท์  หลักพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) ,การแบ่งแยกประเภทความรู้ออกเป็นสามองค์ประกอบของบลูม (Bloom) หลักการสอนทักษะ หลักการเปลี่ยนทัศนคติ

ผลการวิจัยเกี่ยวกับการสอนโดยการจัดเรียนเป็นกลุ่ม โดยแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ในจิตวิทยาการศึกษา ซึ่งได้แก่การจัดระเบียบเนื้อหา หน่วยการเรียน การเสนอแนะกระบวนการ และการจัดวิธีการเรียนการสอนที่สอดคล้องกัน

6.    การดำเนินการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนจะขึ้นอยู่กับการเลือกเทคนิคการสอน ตลอดจนการใช้สื่ออุปกรณ์การสอนอย่างไร จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ การสอนแต่ละหน่วย และกลวิธีการจูงใจผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในการเรียน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับผิดชอบในการเรียน ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเป็นทั้งนักเทคนิค คือ แนะนำวิธีที่ดีที่สุด ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วยอย่างมาก และบทบาทในฐานะเป็นวิทยากร คือ แนะนำเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาในหน่วยการเรียน แนะนำเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ช่วยการเรียนเมื่อผู้ใหญ่มีความต้องการ นอกจากนั้นจะเป็นผู้คอยเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เรียนไปแล้วในหน่วยที่ผ่านมา กับเนื้อหาที่จะเรียนต่อไป

7.    การประเมินผู้เรียน
กิจกรรมนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อทราบว่า ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายตามที่วางแผนไว้ตอนแรกอย่างไร มีอะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรค ทั้งนี้จะเปรียบเทียบกับความสามารถก่อนเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ เป็นการวัดความเจริญก้าวหน้าที่ผู้เรียนได้รับ รวมทั้งประสิทธิภาพการสอนของครูเองด้วย
ครูผู้สอน จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถที่ต้องการจะวัดและประเมินผล ได้แก่ระดับความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ความสามารถทางสติปัญญา (Cognitive Domain) ความรู้สึก ความสนใจ และทัศนคติ (Affective Domain) และควรจะมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือ การสร้างแบบทดสอบ และหลักการประเมินผล ตลอดจนเทคนิคการแนะแนวเพื่อคำปรึกษาที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง จนสามารถตัดสินใจปรับปรุงและแก้ไขด้วยตนเอง