Thursday, November 6, 2014

การวางแผนหลักสูตร

การวางแผนหลักสูตร
Decorative Knowledge
Strategic Network
Vision
การวางแผนหลักสูตรสหสัมพันธ์เพื่อให้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน การสอนภาษาอังกฤษ การที่จะเรียนรู้สิ่งใดให้ดีได้ ผู้เรียนต้องมีความสนใจเข้าใจความหมายของสิ่งที่เรียนและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนกับสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้อง (บุญเลี้ยง ทุมทอง.2554)
การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) เป็นการใช้พื้นฐานแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่ง คือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา หลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร
เซลเลอร์ อเล็กซานเดอค์และเลวิส
กล่าวถึงข้อตกลงเบื้องต้นในการวางแผนหลักสูตร
1. เริ่มแรกให้พิจารณาจากจุดหมายของการศึกษา
2. หลักสูตรต้องมีความเป็นพลวัตร และมีการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการจำเป็นของสังคม
3. กระบวนการการวางแผนหลักสูตรต้องมีความต่อเนื่อง ไม่มีขีดจำกัดและมีความเป็นพลวัตร
4. ไม่มีการวางแผนหลักสูตรเพียงหนึ่งเดียวแล้วใช้ กับโรงเรียนทุกแห่ง
5. การวางแผนหลักสูตต้องมีผู้เข้าร่วมรายบุคคลเป็นจำนวนมาก
6. กระบวนการการวางแผนแปรเปลี่ยนจากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง จากโรงเรียนหนึ่งไปอีกโรงเรียนหนึ่ง และจากห้องเรียนหนึ่งไปอีกห้องเรียนหนึ่ง แต่การวางแผนต้องมีความเป็นเหตุเป็นผล มีความคงที่ และมีความเป็นหนึ่ง 
    เดียวในสถานการณ์แบบเดียวกัน

ฮาร์เด็น (Harden.1986)
กล่าวถึงคำถามทีใช้ในการวางแผนหลักสูตร 10 ข้อ
1. ความต้องการจำเป็นของหลักสูตรที่จะต้องได้รับการตอบสนอง
2. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
3. ขอบข่ายเนื้อหาสาระของหลักสูตร
4. การจัดระเบียบระบบเนื้อหาหลักสูตร
5. กลยุทธการศึกษาที่นำมาใช้ในการสอน
6. วิธ๊สอนที่นำมาใช้สอนทั้งกุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย
    รวามถึงเทคโนโลนีการเรียนรู้ใหม่
7. การประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้และการสอน
8. การสื่อสารในเรื่องเกี่ยวข้องกับหลักสูตรกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้เรียน
9. บริบทของการศึกษา
10. การบริหารจัดการหลักสูตร

สี่เสาหลักการศึกษา
สี่เสาหลักการศึกษา คือ หลักสำคัญ 4 ประการของการศึกษาตลอดชีวิต
1. การเรียนเพื่อรู้ (Learning to Know)
2. การเรียนเพื่อปฏิบัติได้จริง (Learning to Do)
3. การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน (Learning to Live Together)
4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be)

ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 การศึกษาต้องเตรียมคนออกไปเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning person)
ทักษะของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ 3R x 7C
3R
แนวคิดดั้งเดิม
แนวคิดใหม่
Reading (อ่านออก),
Relevancy (ความสัมพันธ์)
‘Riting (เขียนได้)
Relationship (สัมพันธภาพ)
‘Rithmetics (คิดเลขเป็น)
Rigor (ความเคร่งครัด ความถูกต้องแม่นยำ)

7C
1. Critical thinking & Problem solving
     (ทักษะด้าน การคิดอย่งมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา)
2. Creativity & Innovation
    (ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
3. Cross-cultural understanding
   (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม)
4. Collaboration, teamwork & leadership
    (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
5. Communication, information & media literacy
    (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)
6. Computing &ICT literacy
    ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร
7. Career & learning skills
   (ทักษะอาชีพ และ ทักษะการเรียนรู้)

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานอยางน้อย 3 ด้าน คือ ปรัชญา จิตวิทยา และสังคม
การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ เป้าหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม
ด้านร่างกาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางกายและทางใจ
ด้านสติปัญญา ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์จนความรู้ที่ได้ตกผลึกกลายเป็นความรู้ที่เกิตขึ้นในตน
ด้านอารมณ์ ผู้เรียนจะต้องรู้จักและควบคุมอารมณ์ในตนได้ มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม รวามถึงจะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
ด้านสังคม เมื่อผู้เรียนได้รับการความรู้ต้องรู้จักนำความรู้นั้นไปพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมให้สังคมเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 อีกทั้งผู้เรียนจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการ คือภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน ซึ่งมีความหมายดังนี้
1.  ภูมิรู้ หมายถึง ผู้เรียนต้องมีความรู้ทางวิชาการ เข้าใจหลักการ  แนวคิด ทฤษฎี มีทักษะที่จำเป็นในการบริหารงาน รวมทั้งมีควรู้ทางด้านพฤติกรรมตร์  มีความเป็นผู้นำ มีมนุษย์สัมพันธ์ มีเทคนิควิธีการด้านการประสานงาน การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ  เป็นต้น
 2.  ภูมิธรรม หมายถึง ผู้เรียนที่ดีย่อมมีภูมิจริยธรรมในการบริหาร มีความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา โดยเฉพาะต้องรู้จัก การใช้หลักธรรมทางศาสนาเพื่อการบริหารงาน เช่น หลักธรรมทางศาสนา อาทิ พรหมวิหาร 4 สัปปุริสธรรม 7 สังคหวัตถุ 4 อิทธิบาท 4 เป็นต้น
  3.  ภูมิฐาน หมายถึง บุคลิกลักษณะที่เหมาะสมในการเป็นผู้บริหาร ทั้งด้านการพูด การแต่กาย  บุคลิกภาพส่วนบุคค
(นิพนธ์ กินาวงศ์. 2542)


บรรณานุกรม
รศ.ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). “การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฏีและการปฏิบัติ”. นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร
นิพนธ์ กินาวงศ์. (2542). “หลักบริหารการศึกษา”. พิษณุโลก. ภาควิชาบริหารแลพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

บุญเลี้ยง ทุมทอง.(2554). “การพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development”.กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Center for Curriculum Redesign. (2012).  “21st Century Education” What should students learn in the 21st Century?