Thursday, December 25, 2014

ขั้นที่ 2 การวางแผนหลักสูตร

บทที่ 2
การวางแผนหลักสูตร


พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง หลักสำคัญ 4 ประการของการศึกษาตลอดชีวิต ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning : The Treasure Within  ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. 1995  ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1.     การเรียนเพื่อรู้  (Learning to Know) การเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง และยังหมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
2.     การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง  (Learning to Do) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ
3.     การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน  (Learning to Live Together) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง
       ต่าง ๆ โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน
4.     การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21 (3R 7C)
3R
แนวคิดดั้งเดิม
แนวคิดใหม่
Reading (อ่านออก),
Relevancy (ความสัมพันธ์)
‘Riting (เขียนได้)
Relationship (สัมพันธภาพ)
‘Rithmetics (คิดเลขเป็น)
Rigor (ความเคร่งครัด ความถูกต้องแม่นยำ)

7C
1. Critical thinking & Problem solving
     (ทักษะด้าน การคิดอย่งมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา)
2. Creativity & Innovation
    (ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
3. Cross-cultural understanding
   (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม)
4. Collaboration, teamwork & leadership
    (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
5. Communication, information & media literacy
    (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)
6. Computing &ICT literacy
    ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร
7. Career & learning skills
   (ทักษะอาชีพ และ ทักษะการเรียนรู้)


การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็การศึกษาที่ต้องเตรียมให้คนออกไปเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ไม่ว่าจะเป็นสาขาอาชีพอะไร คนในอาชีพนั้นๆจะต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ได้ใน 3 ด้าน คือ บุคลิกลักษณะ (Character) ด้านทักษะ (Skills) ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะผู้เรียนจะเรียนรู้เพื่อการใช้ชีวิตและด้านอาชีพ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะด้านการสื่อสาร การทำงานเป็นทีมและด้านสร้างสรรค์ ทักษะด้านสาระสนเทศและสื่อ ด้านความรู้ ผู้เรียนจะต้องเรียนด้านภาษา มนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลนี คณิตศาสตร์และวิศวกรรม (Charles Fadel. 2012, and Partnership for 21st Century Skills.)

การสื่อสารมีบทบาทสำคัญสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 การสื่อสารเป็นการสื่อความคิดและไอเดียออกมาทางวาจา รวมถึงการฟังอย่างเข้าใจและสามารถตีความหมายได้ สามารถบอกถึงจุดประสงค์ต่างๆได้ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะต้องสื่อสารได้แม้ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างออกไป หรือในที่ที่ใช้ภาษาแตกต่างกัน และสามารถอยู่ในสังคมโลกได้ ใช้สิทธ์และ ใช้เสียงเพื่อส่วนรวมได้ คนรุ่นใหม่จำเป็นต้องมีความสามารถในการสื่อสาร  และสามารถแสดงออกถึงความคิด และข้อมูลต่างๆได้ ในประเทศไทย คนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ว่าการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญในด้านการสื่อสาร และเป็นประโยชน์และเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทมากในโลกธุรกิจ ด้านวิชาการ ด้านการท่องเที่ยว และประชาชนโลกที่ต้องสื่อสารในชาติที่แตกต่างกัน (Partnership for 21st Century Skills, Dr. Kenneth Dobson. 2006, Ananiadou, K. & M. Claro. 2009 and Jeremy Harmer. 2001)

ภาษาเป็นกระบวนการแสดงออกมาเป็นคำพูดเพื่อสื่อความหมาย  และเป็นหน้าที่หลักในการสื่อสารระหว่างกัน ในการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพจะมุ่งเน้นที่กิจกรรม แนวคิดด้านการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching) จุดมุ่งหมายของวิธีสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่ เรียนในการสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกัน ดังนั้นการสอนจะมุ่งเน้นไปทางการทำกิจกรรม วิธีสอนแบบ B-SLIM โดย Olenka Bilash เป็นผู้ออกแบบวิธีการสอน อาศัยหลักการและแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของพีอาเจต์ (Piaget) และวิก็อทสกี้ (Vygotsky) และทฤษฎี การเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูนเนอร์ (Bruner) (David R. Hall &  Ann Hewings. 2001, Olenka Bilash. 2011, and Marianne Celce-Murcia  2001)

ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ครูเรียนเสมือนเป็นคุณอำนวย (facilitator) เป็นผู้วิเคราะห์ความต้องการ เป็นผู้เจรจาต่อรองและเป็นผู้จัดการในเวลาเดียวกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด ครูจะต้องพัฒนาความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง ในทางวิชาชีพควรมีประสบการ์ในด้านต่างๆ เช่น ทางเสรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนผู้เรียนเปรียนเสมือนผู้แลกเปลี่ยนหรือผู้เจรจาต่อรอง เป็นผู้ปฏิสัมพันธ์ และเป็นทั้งผู้รุกและผู้รับ (David R. Hall & Ann Hewings. 2001, UNESCO: of the International Commission of Education for the 21st Century. 1996)

จากบทที่ 1 ได้กล่าวไว้ว่าผู้พัฒนาหลักสูตรได้นำ SU Model มาใช้ในการหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model: หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เขียนความสัมพันธ์ของเป้าหมายการพัฒนาหลักสูตรกับความรู้ (Knowledge) ผู้เรียน (Learner) และสังคม (Society) 

เป้าหมาย
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับพื้นฐานเป็นอย่างดี สามารถสื่อสารกับผู้อื่น สังคมอื่น ประเทศอื่นได้ อีกทั้งผู้เรียนต้องเข้าใจถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกับอย่างมีความสุขในสังคมที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

จุดประสงค์

                    ผู้เรียนสามารถฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานได้ดี เข้าใจรูปแบบโครงสร้างไวยกรณ์การสื่อสาร คำศัพท์ วลีและประโยคภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และมีพัฒนาการการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ หัวเรื่องและบริบท การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน การแนะนำตนเองและผู้อื่น การให้ข้อมูล และการแสดงความคิดเห็น กลยุทธ์และทักษะในการอ่านเร็ว อ่านบทความ ประกาศ โฆษณา อีกทั้งผู้เรียนต้องเป็นคนดี มึคถณธรรม จริยธรรม นำความรู้ความสามารถไปประจุกต์ใช้ในสังคมโลกได้ เป็นอย่างดี
               
ระยะเวลาในการอบรม     16    สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง
                               
ผู้เข้ารับการอบรม
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

สื่อการเรียนการสอน
1.             หนังสือ
2.             เครื่องฉายภาพทึบแสง  โปรเจกเตอร์ 
3.             เครื่องเสียง
4.             คอมพิวเตอร์
5.             เครื่องอัดวิดีโอ
6.             อินเทอร์เน็ต


การประเมินการฝึกอบรม และเครื่องมือที่ใช้ประเมิน
1.              สังเกตจากการอภิปราย  การมีส่วนร่วมในกิจกรรม  การตั้งใจรับฟังและเสนอความคิดเห็น
2.              แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
3.              แบบสอบถามความคิดเห็นด้านเจตคติและทักษะก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังการเรียน
4.              แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการฝึกอบรม
5.              แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้



No comments:

Post a Comment