Thursday, December 25, 2014

ขั้นที่ 3 การจัดหลักสูตร

บทที่  3
การจัดหลักสูตร

การนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์  ได้ให้ความหมายว่า การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ โดยกระบวนการที่สำคัญที่สุด คือ การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การขัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนาการเรียนการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้เห็นผลตามเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร ผู้บริหาร ครูใหญ่ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จ

กรอบแนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด ADDIE
เนื่องจากมีรูปแบบ (Model)   สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอน (Insturctional System Design) เป็นการประยุคแนวคิดเชิงระบบ (System Approach) มาใช้ รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็ยังยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม คือ ADDIE Model (รค.ดร.สุเทพ.2007รศ. ดร. ฉลอง  ทับศรี. 2010)

ADDIE Model
1.             การวิเคราะห์  (Analysis)
2.             การออกแบบ  (Design)
3.             การพัฒนา  (Development)
4.             การนำไปใช้  (Implementation)

5.             การประเมินผล  (Evaluation)

กลยุทธการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในสถานที่เสมือนจริง
                    โดร์แมน (Woodall, Dorman, 2005 อ้างถึงในสุเทพ อ่วมเจริญ, 2557) นำเสนอแนวคิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในสถานที่เหมือนจริงจะเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบและจัดลำดับของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในสถานที่เหมือนจริง มีลักษณะเป็นารจัดบรรยากาศที่สภาพแวดล้อมเหมือนจริงหรือใกล้เคียงกับความจริงร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ (blended learning) การเรียนรู้จากสถานที่เหมือนจริง 5 ขั้นแรก ที่เป็นการเรียนรู้เป็นทางการ (formal learning solutions) ส่วนอีก 3 ขั้นเป็นการเรียนรู้ไม่เป็นทางการ (informal modes of learning) อาทิ การสนับสนุน (support) การแนะ (coaching) การกำกับติดตาม (mentoring) และการร่วมมือกัน (collaboration) จัดเป็นขั้นตอนได้ 8 ขั้น ดังนี้
                    1. เตรียมฉัน (Prepare Me) เป็นการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผูเรียนมั่นใจว่ามีทักษะความรู้พื้นฐานและความเข้าใจตลอดที่ต้องการ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีการปรับปรุงทักษะการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือต่างๆ กลยุทธ์การเรียนรู้ที่นำมาใช้ในโปรแกรมการบูรณาการ ผู้เรียนจะได้รับทราบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมเพื่อความสำเร็จต่อไป
                    2. บอกฉัน (Tell me) เป็นการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอและอธิบายข้อเท็จจริง มโนทัศน์ วิธีดำเนินการ และหลักการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระหรือรายวิชา วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ อาจมีการปรับเปลี่ยน และการจัดลำดับของการนำเสนอในการเรียนรู้เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
                    3. แสดงต่อฉัน (Show me) เป็นการนำเสนอตัวอย่างของข้อเท็จจริง วิธีการดำเนินการ หลักการ มโนทัศน์และกระบวนการในการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีในการนำทักษะที่ฝึกไปใช้
                    4. ปล่อยฉัน (Let me) ผู้เรียนจะได้รับโอกาสในการเรียนรู้ทักษะหรือความรู้ใหม่ต่อจากแสดงต่อฉัน เป็นการสร้างการจดจำในระยะยาวและสนับสนุนการถ่ายโอนการเรียนรู้และการนำความรู้และทักษะไปใช้ในสถานที่ปฏิบัติงาน ข้อมูลย้อนกลับในการปฏิบัติงานมีความสำคัญอย่างยิ่งในขั้นตอนนี้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างถูกต้องต่อไป
                    5. ตรวจสอบฉัน (Check me) เป็นการประเมินหรือทดสอบคุณค่าความก้าวหน้าของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ การประเมินให้ข้อมูลย้อนกลับของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยปกติวัดเป็นคะแนนและเครื่องมือวัด วัดเพื่อการตัดสินใจว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพียงพอในระดับมีความรอบรู้ในทักษะและความรู้ที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าในสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ
                    6. สนับสนุนฉัน (Support me) ผู้เรียนเริ่มเข้าถึงการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์และสื่อการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ โดยให้ความสำคัญกับผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ
                    7. ให้การเอาใจใส่ดูแลฉัน (Coach me) ผู้เรียนจะเรียนรู้จากประสบการณ์    ร่วมกับผู้อื่น การสอนงานและการเรียนรู้งานจากผู้จัดการ เพื่อน ผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หลากหลายแง่มุม มีความแหลมคม และขยายทักษะที่เป็นความสามารถบรรลุความสำเร็จได้     จากการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ
                    8. ร่วมกันเป็นเครือข่ายของฉัน (Connect me) เป็นการร่วมมือกันช่วยให้ผู้เรียนปฏิบัติงานในกลุ่มเพื่อนและเพื่อนร่วมงานในการแก้ปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยให้โอกาส         ในการขยายความรู้และทักษะให้กับผู้เรียนทุกคนในทุกระดับ

หน่วยการเรียนรู้
1.               Greeting and introductions
2.                Jobs
3.                Food and drink
4.                Sports and exercise
5.                Daily activities
6.                Problems
7.               Talking about clothes
8.               Appearances and personality
9.               Local attraction
10.         Places in the neighborhood
11.         Things that happen in vacations
12.         Kinds of transportation

No comments:

Post a Comment