Thursday, December 25, 2014

ขั้นที่ 4 การประเมินหลักสูตร

บทที่  4
การประเมินหลักสูตร

                        ไทเลอร์ (Tyler, 1969:104 อ้างถึงใน สุเทพ อ่วมเจริญ 2557:152) ได้ตั้งคำถามพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร สรุปแนวคิดได้ว่า ในการประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ดังคำถามข้อที่ 4 ที่ว่า ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนรู้ทำอย่างไร

                        ผู้พัฒนาหลักสูตรได้นำการประเมินการเรียนรู้โดยใช้ The SOLO taxonomy

การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ : SOLO Taxonomy


SOLO Taxonomy หรือ The Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy คือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอนและการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น แต่SOLO Taxonomy เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนนั้นเกิดการเรียนรู้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ ครูจะมีวิธีสอนอย่างไรที่ให้ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดพัฒนาการมากขึ้น ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือ John B. Biggs และ Kelvin Collis (1982)
แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1. Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2. Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3. Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4. Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5. Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูงหรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น

การประเมินมีหลายวัตถุประสงค์ ซึ่งการประเมินผลการศึกษากับการประเมินหลักสูตรนั้นมีลักษณะที่คล้ายกัน แตกต่างเพียงวัตถุประสงค์ในการประเมินเท่านั้น ในบทนี้ผู้พัฒนาหลักสูตรได้ให้นำนิยามประเมินและระบุการวัดและประเมินผลในด้านต่างๆของ หลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต

Evaluation
     คือการประเมินเพื่อตัดสินคุณภาพซึ่งได้มาจากการวัดโดยมีเกณฑ์ในการวัดและประเมินที่แน่นอน
Evaluation
Class attendance and participation                                                       5%
Activities                                                                                              5%
Assignments                                                                                         10%
Midterm Practice                                                                                 20%
Midterm Examination                                                                        20%
Final Practice                                                                                       20%
Assessment
     คือการประเมินหาจุดเด่นและจุดด้อยเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้
             ผู้พัฒนาได้จัดทำแบบประเมินผู้เรียนและนำไปใช้ในการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละขั้น

Formative     
คือการประเมินระหว่างเรียน หรือ การประเมินย่อย โดยการประเมินระหว่างเรียนสามารถทำได้ตลอดเวลา จุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุง หรือแก้ไขการเรียนการสอนระหว่างเรียนเพื่อให้นักเรียนบรรลุหน่วยการเรียนใด ๆ หรือจุดประสงค์ของเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้อาจจะทำโดยการสอนซ่อมเสริม
ผู้พัฒนาได้จัดการประเมินระหว่างเรียน ดังนี้
1. ดูพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละคนจากงานที่ได้รับและการพูดคุยเป็นภาษาอังกฤษ
2. ข้อสอบย่อยในบางหน่วยการเรียนรู้

Summative
     คือผลจากการประเมินประเภทนี้ใช้ในการตัดสินผลการจัดการเรียนการสอน หรือตัดสินใจว่าผู้เรียนคนใดควรจะได้รับระดับคะแนนใด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตัดสินผลการเรียน

ผู้พัฒนาได้จัดทำการทดสอบทั้ง 4 ทักษะภาษาอังกฤษ
1. การประเมินการฟัง (Listening test)
2. การประเมินการพูด (Speaking test)
3 การประเมินจากการทำข้อสอบ (Theory test)

No comments:

Post a Comment